วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

นําเสนองาน plc

PLC คืออะไร?


PLC คืออะไร?
Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
 ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER
1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. 
การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    
จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLC
ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

ประวัติ PLC
ค.ศ.1969
            PLC
ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            
ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            
มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           
ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)

โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC
ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย
http://www.rtafshooting.com/arm/images/stories/plc.gif

1.ตัวประมวลผล(CPU)
          
ทำหน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท
2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
          
ทำหน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
          RAM
ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก  เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมอยู่บ่อยๆ
          ROM
ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน
3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)
          หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสาร

ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1.ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายกำหนดไว้ดังนี้

1.
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
2.
เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
3.
เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
4.
ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
5.
สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
6.
สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
7.
ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)จากเป้าหมายทั้ง7ประการของเทคโนโลยีสารสนเทศถ้าสามารถดำเนินการได้ตามเป้หมายดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบนี้ได้ทั้งหมด

2.
ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.
วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
2.
ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3.
ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย
3.
ผลกระของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคมมนุษย์

1.
การเปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้สึกตลอดเวลา มีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกว่าสรรพสิ่งเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคม ทำให้ระบบเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นมา พรมแดนของประเทศกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายการบริการด้านการเงินได้รับแรงเสริมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะในสำนักงานทำให้วิธีคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การทำงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานตลอดเวลาอีกแล้ว
2.
ผลกระทบด้านการเมืองและการตัดสินใจ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ละเอียดและปราณีตมากขึ้น ทำให้การตัดสินใจไม่เป็นไปตามค่านิยมแต่จะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลและข้อเท็จจริงพร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีการเก็บรวบรวมและมีวิธีการวิเคราะห์ประกอบด้วย ส่วนรูปแบบการเมือง จะได้รับผลกระทบคือ ระบบเผด็จการจะลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมข่าวสารได้ ระบบการสื่อสารที่กระจายอำนาจทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.
การเกิดขึ้นของชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตจะเกิดชุมชนใหม่ที่เรียกว่า ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏขึ้นเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่มีความสนใจเหมือนกันจะติดต่อโดยผ่านบริการของสหกรณ์โทรคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัดการให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนี้จะถูกบันทึกไว้และจะเรียกกลับมาใช้อีกเมื่อไหร่ก็ได้
4.
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคโนโลยีต่างๆ และเทคโนโลยีเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหรือจำลองแบบมวลอากาศเพื่อพยากรณ์ทางด้านอุตุนิยมวิทยา การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลายป่าา หรือการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบการแพร่มลพิษในน้ำหรือในอากาศ
5.
ผลกระทบด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านการศึกษามาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน (Computer Assisted Learning-CAL) ซึ่งหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและการเรียนรู้ โดยมีผลทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับคนเมือง นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้อาจารย์มีเวลามากขึ้นที่จะทำการศึกษาวิจัย นำเสนอผลงานใหม่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
6.
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเลือกซื้อของ การพักผ่อน การฝาก-ถอนเงิน การรักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งผลกระทบต่อบุคคลที่สำคัญดังนี้
ผลกระทบที่มีผลต่อสภาวะจิตใจ การที่สภาพแวดล้อมทีการกระตุ้นมากเกินไป ข่าวสารข้อมูลมีมากเกินไป ทางเลือกต่างๆ มีมาก ทำให้เกิดการตัดสินใจของมนุษย์ด้อยประสิทธิภาพลงเมื่ออยู่ในภาวะที่ถูกกระตุ้นมากไป
การย้อนกลับไปสู่ศาสตร์ลี้ลับ เนื่องมาจากการสูญเสียอำนาจควบคุมพลังและศาสตร์ต่างๆ ก้าวไปไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุม มนุษย์จึงเลิกสนใจวิทยาศาสตร์แต่หันมาสนใจศาสตร์ลี้ลับต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
6.
ความเป็นส่วนตัวลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวทุกอย่างของมนุษย์ได้
ผลกระทบต่อวิธีคิดมนุษย์ มนุษย์จะสามารถเก็บข้อมูลมากที่สุดในเวลาอันสั้นแล้วทิ้งไป แต่จะนำเอาข้อมูลเพียงเล็กน้อยมาสรุปรวมกันเป็นทัศนะใหม่ จะไม่รับแนวคิดที่ส่งผ่านมาทั้งกระบวนอีกต่อไป

นําเสนอเครื่องจักร nc

ประวัติส่วนตัว

นายกฤดากร ณ พัทลุง
คณะการจัดการอุตสาหกรรม ห้อง c
โทร0862966354
508 ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จังหวัดพัทลุง
รหัสไปรษณีย์  93000